วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กฏหมายเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต



กฏหมายเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
กฎหมายอินเตอร์เน็ต
            กฎหมายเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มี National Information Technology Committee : NITC  เป็นผู้ควบคุมดูแล
            ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีความสำคัญต่อการติดต่อสื่อสารทั้งในส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจหรือรวมทั้งการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันทุกองค์การต้องมีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนั้นต้องมีการควบคุมดูแลผลประโยชน์ของผู้ที่นำข้อมูลมานำเสนอผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูล จากการประชุมคณะรัฐมนตรี ทางคณะรัฐมนตรีได้มีนโยบายทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการปฏิรูปกฎหายเมทคโนโลยีสารสนเทศ ( National Information Technology Committee : NITC ) เป็นผู้รับผิดชอบกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology Law ) จำเป็นต้องมีการตรากฎหมายขึ้นบังคับทั้งหมด 6 ฉบับ ได้แก่           
     1. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์           
     2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือทางอิเล็กทรอนิกส์           
     3. กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์           
     4. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์          
     5. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล           
     6. กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 78



ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
           การกระทำการใดๆที่มีกฎหมายให้รับรองลิขสิทธิ์ ถ้าเป็นงานที่ไม่ได้รับความคุ้มครองหรือสิ้นอายุการควบคุมตามกฎหมายแล้ว การกระทำต่องานนั้นย่อมไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพราะไม่ได้ไปจดลิขสิทธิ์ นอกจากนี้ยังมี
          1  งานอันไม่อาจมีลิขสิทธิ์
          2  ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

1. งานอันไม่อาจมีลิขสิทธิ์งานที่อาจมีลิขสิทธิ์ มีดังนี้ คือ
      1  ข่าวประจำวันและข้อเท็จจริงต่างที่มีลักษณะข่าวสาร ซึ่งไม่ใช่งานวรรณคดีหรือวิทยาศาสตร์หรือศิลปะ
     2  รัฐธรรมนูญ กฎหมาย
     3  ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือตอบโต้ของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือท้องถิ่น
     4  คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของราชการ
     5  คำแปล และการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตาม 1) – 4 ) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น

2. การกระทำที่ถือเป็นข้อยกเว้นของการละเมิดลิขสิทธิ์การกระทำกับงานอันมีลิขสิทธิ์ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีสิขสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินควร ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือการกระทำต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ มีดังนี้
    1  กระทำการเพื่อประโยชน์ในการศึกษามิใช่หากำไร
    2  กระทำการเพื่อใช้งานส่วนตัว
    3  กระทำการเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
    4  กระทำการโดยรับรู้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของผู้อื่น เช่น คัดลอกเลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควร จากงานอันมีลิขสิทธิ์ โดยการแสดงการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ย่อมไม่

เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ความปลอดภัยของข้อมูลบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                องค์กรจำนวนมากได้สร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานในองค์กร มีการใช้มาตรฐานเดียวกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เราเรียกเครือข่ายเฉพาะในองค์กรนี้ว่า อินทราเน็ต อินทราเน็ตเชื่อมโยงผู้ใช้ทุกคนในองค์กรให้ทำงานร่วมกัน มีการกำหนดการทำงานเป็นทีมที่เรียกว่า เวอร์กกรุป แต่ละทีมมีระบบข้อมูลข่าวสารของตน มีสถานีบริการข้อมูลที่เรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ การทำงานในระดับเวอร์กกรุปจึงเน้นเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม เช่น ทีมงานทางด้านการขาย ทีมงานทางด้านบัญชี การเงิน การผลิต ฯลฯอินทราเน็ต ได้รวมทีมงานต่าง ๆ เหล่านี้เข้าด้วยกัน เป็นเครือข่ายขององค์กร มีการแลกเปลี่ยนและใช้ข้อมูลร่วมกัน ใช้ทรัพยากรทางคอมพิวเตอร์ร่วมกัน มีระบบการทำงานที่เรียกว่า เวอร์กโฟล์ว (workflow)อย่างไรก็ดี การทำงานขององค์กรมิได้กำหนดขอบเขตเฉพาะภายในองค์กรเท่านั้น หลายองค์กรนำเครือข่ายอินทราเน็ตของตนเองเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อให้การทำงานเชื่อมโยงกับองค์กรอื่นได้ การทำงานร่วมกับองค์กรอื่นเป็นหนทางของการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อความรวดเร็ว ความสะดวกสบายในการทำงาน องค์กรจำนวนมากมีโฮมเพ็จของตนเองเพื่อการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการ มีการรับใบคำสั่งซื้อจากภายนอก หรือให้บริการหลังการขายโดยตรงทางเครือข่ายเมื่อนำเครือข่ายอินทราเน็ตขององค์กรเชื่อมเข้าสู่เครือข่ายสาธารณะ ย่อมมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กร การรักษาความปลอดภัยจึงเป็นระบบที่ต้องคำนึงถึง ถึงแม้ว่าจะต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายของระบบก็จำเป็นต้องทำ เพราะหากเกิดปัญหาในเรื่องข้อมูลข่าวสารหรือการรั่วไหลของข้อมูลแล้ว ความสูญเสียจะมีมากกว่าระบบการรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐานที่มีในขณะเรียกเข้าหาระบบคือ รหัสพาสเวิร์ด หรือรหัสผ่าน ในการล็อกอินเข้าสู่ระบบ เช่น เรียกใช้เซิร์ฟเวอร์เพื่อขอข้อมูลข่าวสาร จำเป็นต้องทราบว่าใครเป็นผู้เรียกเข้าหา โดยให้ผู้เรียกป้อนรหัสพาสเวิร์ด ผู้ใช้ทุกคนจะมีรหัสเฉพาะของตน จำเป็นต้องให้ผู้ใช้กำหนดรหัสที่ยากต่อการถอดโดยผู้อื่น โดยหลักการพื้นฐานควรกำหนดรหัสนี้ให้มีความยาวไม่น้อยกว่า 8 ตัวอักษร ควรให้มีการผสมระหว่างตัวอักขระพิเศษและตัวเลขด้วย เช่น mypo@123! ไม่ควรนำเอาคำศัพท์ในพจนานุกรม หรือใช้ชื่อ ใช้วันเกิด เพราะรหัสเหล่านี้ง่ายต่อการถอด อย่านำรหัสนี้ให้กับผู้อื่น และควรเปลี่ยนรหัส เมื่อใช้ไปได้ระยะเวลาหนึ่งไฟร์วอล เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บรรจุไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จัดให้เป็นทางผ่านเข้าออก เพื่อป้องกันการแปลกปลอมของแฮกเกอร์ภายนอกที่จะเจาะเข้าระบบ และยังควบคุมการใช้งานภายใน โดยกำหนดสิทธิ์ของแต่ละบุคคลให้ผ่านออกจากระบบได้ ดังนั้นเมื่อมีการนำเอาเครือข่ายอินทราเน็ตขององค์กรเชื่อมต่อกับเครือข่ายสาธารณะ เช่น อินเทอร์เน็ต ระบบไฟร์วอลจึงเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่ใช้ในการป้องกันและรักษาความปลอดภัยโดยปกติมักใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำหน้าที่เป็นไฟร์วอล เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้จะมีการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายสองด้าน ด้านหนึ่งเชื่อมกับอินทราเน็ต อีกด้านหนึ่งเชื่อมกับ อินเทอร์เน็ต ดังนั้นจึงเป็นเสมือนยามเฝ้าประตูทางเข้าออก เพื่อตรวจสอบการเข้าออกของบุคคลไฟร์วอลจะควบคุมสิทธิ์ และติดตามการใช้งาน เช่น กำหนดให้บุคคลภายนอกเข้ามาใช้ได้ในกรอบที่จำกัด และเมื่อเข้ามาก็จะติดตามการใช้งาน หากมีความพยายามจะใช้เกินสิทธิ์ เช่น การ ล็อกออนไปยังเครื่องที่ไม่มีสิทธิ์ก็จะป้องกันไว้ ขณะเดียวกันอาจเป็นตัวตรวจสอบเอกสารหรือข้อมูลบางอย่าง เช่น จดหมาย หรือแฟ้มข้อมูลระบบของไฟล์วอลมีหลายระดับ ตั้งแต่การใช้อุปกรณ์สื่อสาร เช่น เราเตอร์ทำหน้าที่เป็น ไฟร์วอล เพื่อควบคุมการติดต่อสื่อสาร หรือป้องกันผู้แปลกปลอม จนถึงขั้นการใช้คอมพิวเตอร์ที่มีซอฟต์แวร์ ไฟร์วอลอันทรงประสิทธิภาพ

รูปแบบของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

การกระทำในลักษณะของอาชญากรทางคอมพิวเตอร์แบ่งได้ 4 ประเภท คือ1. พวกมือใหม่ ( Novices ) หรือมือสมัครเล่น อยากทดลองความรู้และส่วนใหญ่จะมิใช่ผู้ที่เป็นอาชญากรโดยนิสัย คือ มิได้ดำรงชีพโดยการกระทำความผิด
2. นักเจาะข้อมูล ( Hacker ) ผู้ที่ชอบเจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น พยายามหาความท้าทายทางเทคโนโลยี เข้าไปในเครือข่ายของผู้อื่นโดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
3. อาชญากรในรูปแบบเดิมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ เช่น พวกที่พยามสั่งของที่ทำด้วยเทคโนโลยี เช่นบัตรเครดิต , บัตรเอทีเอ็ม เป็นต้น
4. อาชญากรมืออาชีพ คือ ผู้ที่ดำรงชีพด้วยการกระทำความผิด เช่น พวกที่ใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีฉ้อโกงสถาบันการเงินหรือการจารกรรมข้อมูลไปจำหน่าย เป็นต้น


กลุ่มอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

อาชญากรคอมพิวเตอร์ คือ ผู้กระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นส่วนสำคัญ มีการจำแนกไว้ดังนี้    1.Novice เป็นพวกเด็กหัดใหม่(newbies)ที่เพิ่งเริ่มหัดใช้คอมพิวเตอร์มาได้ไม่นาน หรืออาจหมายถึงพวกที่เพิ่งได้รับความไว้วางใจให้เข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
    2.Darnged person คือ พวกจิตวิปริต ผิดปกติ มีลักษณะเป็นพวกชอบความรุนแรง และอันตราย มักเป็นพวกที่ชอบทำลายทุกสิ่งที่ขวางหน้าไม่ว่าจะเป็นบุคคล สิ่งของ หรือสภาพแวดล้อม
    3.Organized Crime พวกนี้เป็นกลุ่มอาชญากรที่ร่วมมือกันทำผิดในลักษณะขององค์กรใหญ่ๆ ที่มีระบบ พวกเขาจะใช้คอมพิวเตอร์ที่ต่างกัน โดยส่วนหนึ่งอาจใช้เป็นเครื่องหาข่าวสาร เหมือนองค์กรธุรกิจทั่วไป อีกส่วนหนึ่งก็จะใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นตัวประกอบสำคัญในการก่ออาชญากรรม หรือใช้เทคโนโลยีกลบเกลื่อนร่องร่อย ให้รอดพ้นจากเจ้าหน้าที่
    4.Career Criminal พวกอาชญากรมืออาชีพ เป็นกลุ่มอาชญากรคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่มาก กลุ่มนี้น่าเป็นห่วงมากที่สุด เนื่องจากนับวันจะทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยจับผิดแล้วจับผิดเล่า บ่อยครั้ง
    5. Com Artist คือพวกหัวพัฒนา เป็นพวกที่ชอบความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ส่วนตน อาชญากรประเภทนี้จะใช้ความก้าวหน้า เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และความรู้ของตนเพื่อหาเงินมิชอบทางกฎหมาย
    6.Dreamer พวกบ้าลัทธิ เป็นพวกที่คอยทำผิดเนื่องจากมีความเชื่อถือสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างรุ่นแรง
    7.Cracker หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี จนสามารถลักลอบเข้าสู่ระบบได้ โดยมีวัตถุประสงค์เข้าไปหาผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง มักเข้าไปทำลายหรือลบไฟล์ หรือทำให้คอมพิวเตอร์ใช้การไม่ได้ รวมถึงทำลายระบบปฏิบัติการ

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ 
อาชญากรคอมพิวเตอร์จะก่ออาชญากรรมหลายรูปแบบ ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกจัดออกเป็น 9 ประเภท (ตามข้อมูลคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจร่างกฎหมายอาชญาญากรรมคอมพิวเตอร์)
    1.การขโมยข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งรวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ
    2.อาชญากรนำเอาระบบการสื่อสารมาปกปิดความผิดของตนเอง
    3.การละเมิดสิทธิ์ปลอมแปรงรูปแบบ เลียนแบบระบบซอพต์แวร์โดยมิชอบ
    4.ใช้คอมพิวเตอร์แพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
    5.ใช้คอมพิวเตอร์ฟอกเงิน
    6.อันธพาลทางคอมพิวเตอร์ที่เช้าไปก่อกวน ทำลายระบบสารณูปโภค เช่น ระบบจ่ายน้ำ จ่ายไป ระบบการจราจร
    7.หลอกลวงให้ร่วมค้าขายหรือลงทุนปลอม
    8.แทรกแซงข้อมูลแล้วนำข้อมูลนั้นมาเป็น)ระโยชน์ต่อตนโดมิชอบ เช่น ลักรอบค้นหารหัสบัตรเครดิตคนอื่นมาใช้ ดักข้อมูลทางการค้าเพื่อเอาผลประโยชน์นั้นเป็นของตน
    9.ใช้คอมพิวเตอร์แอบโอนเงินบัญชีผู้อื่นเข้าบัญชีตัวเอง